Episodes
Monday Feb 26, 2024
EP49: Uber History in China
Monday Feb 26, 2024
Monday Feb 26, 2024
EP49 China Internet Landscape and Digital Giants Part 44
- EP นี้จะเล่าเรื่อง Uber 优步 เริ่มบุกตลาดจีน และเข้ามาทำการแข่งขันกับ Didi Kuaidi จนสุดท้าย Uber จะสิ้นสุดอย่างไรในจีน
- เมื่อเดือนเมษายน 2013 โดยเริ่มจากการทำการศึกษาทางการตลาด 市场考察 เหมือนกับหลายๆบริษัทที่จะเริ่มบุกตลาดใด ก็ต้องทำ market feasibility และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการพอดีในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2014 เปิดตัวสู่ตลาด อย่างเป็นทางการ โดยให้บริการในลักษณะรถบ้าน หรือ Private Car
- ในจดหมายภายในที่เขียนถึงนักลงทุน Travis Kalanick ซีอีโอของ Uber กล่าวว่า ในเดือนธันวาคม 2014 (หรือเกือบหนึ่งปีเต็มหลังการเข้าดำเนินงานที่จีนอย่างเต็มตัว) มีผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ Uber 1 ล้านเที่ยวต่อวันในจีน นั่นเป็นปริมาณการเดินทางต่อวันมากกว่าการใช้งานจากตลาดทั้งหมดทั่วโลกรวมกันเสียอีก
- นอกจาก การดำเนินงานในแต่ละวัน การจัดการกับกลการฉ้อโกงของคนขับรถ การต้องจัดการกับนโยบายท้องถิ่นใน Uber ยังต้องเผชิญกับคู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง Didi Dache และ Kuaidi Dache สองเจ้าตลาดที่เอาง่ายๆว่า เป็นเสมือนมาเฟียสองค่ายใหญ่
- Uber เติบโตอย่างไร รับมืออย่างไร และเรื่องราวจะจบแบบไหน รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 49
Monday Aug 28, 2023
EP48: DiDi Journey Part 4
Monday Aug 28, 2023
Monday Aug 28, 2023
EP48 China Internet Landscape and Digital Giants Part 43
- EP นี้เป็นการเล่าเรื่องของ Didi Kuaidi ภายหลังการควบรวมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2015 เชิงกลยุทธ์อย่างเป็นทางการ ว่าเป็นอย่างไร และรวมถึง การเข้ามาของ Uber ด้วย
- หมดช่วงความวุ่นวายของการแต่งงานแบบคลุมถุงชนแล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2015 Didi Kuaidi ก็เร่งแข่งขันกับสตาร์ทอัพรายอื่นๆอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น Yidao Yongche (易到用车) และ Uber (优步) ซึ่งก็มี Baidu เป็นนักลงทุนอีกด้วย โดยบริษัท DiDi ยังได้เพิ่ม feature เพื่อเสริมฟังก์ชันการเรียกแท็กซี่ขั้นพื้นฐานอื่นๆด้วย เช่น บริการรถพรีเมียมใหม่ ฟังก์ชั่นสำหรับผู้โดยสารที่มีความพิการ DiDi Express ซึ่งเป็นบริการเรียกรถส่วนตัว รุ่นราคาประหยัด Didi Bus เพิ่มขึ้นด้วย
- 9 กันยายน 2015 DiDi Kuaidi (滴滴快的) รีแบรนด์เป็น DiDi Chuxing (滴滴出行) อย่างที่เราคุ้นชื่อกันในปัจจุบันเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างแพลตฟอร์มการขนส่งเคลื่อนที่แบบครบวงจรแบบครบวงจร และก็เปิดตัว logo ใหม่เอี่ยม จาก Logo เดิมที่เป็นรูปรถ Taxi เลย ก็เป็นอักษรตัว D สีส้ม ซึ่งเป็นสีเดิมของแบรนด์ แต่เปลี่ยนทิศทางการวางตัว D แบบคว่ำลง
- รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 48
Thursday Jul 27, 2023
EP47: DiDi Journey Part 3
Thursday Jul 27, 2023
Thursday Jul 27, 2023
EP47 China Internet Landscape and Digital Giants Part 42
- EP นี้เป็นการเล่าเรื่องของ การควบรวมกันระหว่าง Kuaidi Dache:KD (快的打车)and Didi Dache: DD (滴滴打车) และวิเคราะห์ถึงเหตุผลเบื้องลึกเบื้องหลัง
- ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2015 ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์สากล Kuaidi Dache (快的打车) ที่หนุนหลังโดย Alibaba และ Didi Dache (滴滴打车) ที่หนุนหลังโดย Tencent ประกาศการควบรวมกิจการเชิงกลยุทธ์อย่างเป็นทางการ ถ้าเปรียบเทียบคือประกาศแต่งงานคลุมถุงชนแบบสายฟ้าแลบ จากคู่แข่งที่แข่งกันดุเดือด ก็มารวมเข้าด้วยกัน เป็น Didi Kuaidi ในที่สุด
- หลายคนได้ตั้งคำถามและสงสัยว่าทำไมถึงเลือกที่จะควบรวมกันแทนที่จะแข่งกันต่อไป ก็มีหลายเสียงจากนักวิเคราะห์ในวงการออกมาวิเคราะห์ถึงเหตุผลว่า อาทิ นักลงทุนรายใหญ่อย่าง Alibaba, Tencent เริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นในธุรกิจนี้ หรือ ทั้งคู่กำลังเผชิญกับแรงกดดันด้านการแข่งขันที่รุนแรงเกินไป หรือเป็นเพราะ Tencent และ Alibabaบรรลุเป้าหมายหลักแล้ว คือการแนะนำให้รู้จักกับ WeChat Pay และ Alipay Wallet แก่ผู้ใช้งานอย่างกว้างขวาง จำนวนผู้ใช้งานเพื่อการชำระเงินก็เพิ่มขึ้นอย่างมากอีกด้วย ผลิตภัณฑ์APPเรียกแท็กซี่จึงเป็นผลพลอยได้เท่านั้น ดังนั้นหากการแข่งขันด้านการชำระเงินค่อยๆ เปลี่ยนทิศทางไป บทบาทของซอฟต์แวร์เรียกแท็กซี่ก็จำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเช่นเดียวกันค่ะ
- รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 47
Tuesday Apr 25, 2023
EP46: DiDi Journey Part 2
Tuesday Apr 25, 2023
Tuesday Apr 25, 2023
EP46 China Internet Landscape and Digital Giants Part 41
- Didi มีชื่อเดิมว่า Didi Dache 嘀嘀打车โดยคำว่า 嘀嘀แปลว่า Beep Beep
- DiDi Taxi เป็น application เรียกรถที่พัฒนาโดยบริษัท Xiaoju Technology Co Ltd. ในกรุงปักกิ่ง โดยนาย Cheng Wei 程维Chéng wéi
- แอปพลิเคชั่น DiDi Taxi ออกสู่ตลาดในเดือน กันยายน 2012
- Didi และ Kuaidi ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของจีน Tencent Holdings Ltd และ Alibaba Group Holding Ltd ตามลำดับ ทั้งสองต่างติดอยู่ในสงครามราคา สงครามเงินอุดหนุน การเผาเงินที่แข่งขันกันอย่างดุเดือนในปีที่ผ่านมา เนื่องจากแต่ละฝ่ายพยายามที่จะเจาะตลาดจีนขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ ไม่ดีต่อนักลงทุนสักฝ่ายสำหรับทั้งสองบริษัท เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาด
- จากข้อมูลล่าสุดในปีนั้น DiDi กินส่วนแบ่งประมาณ 55% ของตลาดจีน ส่วน Kuaidi ควบคุมส่วนที่เหลืออีกเกือบ 45% รายอื่นๆรวมกันก็แทบไม่ถึง 1%
- และสุดท้ายก็มาถึงเวลาที่สำคัญที่สุดในวงการ Ride-Hailing ของจีนคือ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2015 ตรงกับวันวาเลนไทน์ Kuaidi Dache ที่หนุนหลังโดย Alibaba และ Didi Dache หนุนหลังโดย Tencent ประกาศการควบรวมกิจการเชิงกลยุทธ ถ้าเปรียบเทียบคือประกาศแต่งงานคลุมถุงชนแบบสายฟ้าแลบ จากคู่แข่งที่แข่งกันดุเดือด ก็มารวมเข้าด้วยกัน เป็น Didi Kuaidi ในที่สุด
- รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 46
Saturday Mar 18, 2023
EP45: DiDi Journey Part1
Saturday Mar 18, 2023
Saturday Mar 18, 2023
EP45 China Internet Landscape and Digital Giants Part 40
- เมื่อพูดถึงบริษัทเรียกรถหรือ ride-hailing หลาย ๆ คนคงได้ยินชื่อหรือรู้จัก Didi 滴滴 หรือชื่อเต็มๆว่า 滴滴出行 Didi Chuxing บริษัทเทคโนโลยีเรียกรถที่ใหญ่อันหนึ่งในจีน
- ชื่อเดิมของ Didi Cuxing 滴滴出行คือ 嘀嘀打车 Didi Dache ที่ภายหลังได้รวมตัวกับคู่แข่งคนสำคัญอย่าง快的打车Kuaidi Dache จนสุดท้ายก็ได้กลายเป็น 滴滴出行ต้องบอกว่า เรื่องราวของ Didi ก่อนจะมีวันนี้ได้ไม่ธรรมดาเพราะต้องผ่านการต่อสู้ฟาดฟันทั้งกับบริษัทคู่แข่งสัญชาติต่างชาติอย่าง Uber และคู่แข่งจากสัญชาติเดียวกัน จนนำมาสู่การควบรวม ถือเป็น case study ที่สนุกมาก
- ดังนั้น EP นี้ จะเริ่มเล่าเรื่องจาก 快的打车 Kuaidi Dache (KD) รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 45
Monday Oct 03, 2022
EP44: Bytedance’s Toutiao: AI-Powered Content Generator
Monday Oct 03, 2022
Monday Oct 03, 2022
EP44 China Internet Landscape and Digital Giants Part 39
- Bytedance (字节跳动) ก่อตั้งขึ้นโดยนาย Zhang Yiming 张一鸣 ในเดือนมีนาคมปี 2012 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีรายแรก ๆ ในยุคนั้น ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผสานเข้ากับ Mobile Internet
- Zhang Yiming เริ่มศึกษาด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์(microelectronics) ในปี 2001 ก่อนที่จะเปลี่ยนสาขาวิชาเอกเป็นวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และสำเร็จการศึกษาในปี 2005 จากมหาวิทยาลัย Nankai 南开大学 เมืองเทียนจิน หลังจากจบการศึกษา Zhang Yiming ก็ได้เริ่มงานในสตาร์ทอัพชื่อว่า 酷讯(Kuxun) ที่แห่งนี้ได้ช่วยให้เขาได้เรียนรู้ทักษะอันมีค่าซึ่งได้สร้างรากฐานให้กับบริษัทของเขาเองในอนาคต
- วิสัยทัศน์ของเขาที่มีต่อบริษัทไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในจีนเช่นเดียวกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เขาวางแผนที่จะขยายบริษัทไปทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ผู้ร่วมทุนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นค่านักกับวิสัยทัศน์นี้ แม้จะมีความพยายามหลายครั้ง แต่เขาล้มเหลวในการหาทุนจนกระทั่ง SIG เห็นศักยภาพของโครงการและเริ่มลงทุนใน series A ช่วงเดือน July 2012 ด้วยเงินลงทุนจำนวน $1m
- ระบบการกระจายข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligent distribution of content) ให้"ผู้ใช้นับล้าน" เพื่อตอบสนองความต้องการในการอ่านของยุค Mobile Internet ที่เน้นอ่านแบบผิวเผิน users มักจะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนอ่าน และการอ่านมีหน้าที่เพียงแค่เป็นการฆ่าเวลา ดังนั้น feature จะเป็นแบบ "ข้อมูลหาคน" มากกว่า คนเข้าหาข้อมูล
- ปี 2014 , 2 ปีหลังจากการก่อตั้ง Toutiao ผู้ใช้งานแบบรายวัน (DAUs) มีสูงกว่า 13 million users แล้ว
- รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 44
Wednesday Jul 06, 2022
EP43: Kuaishou: from GIF tools to Short-video Platform
Wednesday Jul 06, 2022
Wednesday Jul 06, 2022
EP43 China Internet Landscape and Digital Giants Part 38
- Kuaishou (HKD: 1024) ถือเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Douyin เพราะปัจจุบันมี Monthly Active Users ทั่วโลกรวม 769 ล้านบัญชี และคิดเป็น Daily Active Users หรือผู้ใช้งานบัญชีรายวัน 305 ล้านบัญชี แต่ละคนเฉลี่ยแล้วใช้เวลาเล่นประมาณ 86 นาที
- ที่สำคัญความฮอตฮิตไม่ได้มีแค่ในจีนแต่ Kuaishou ยังขึ้นอันดับ 1 ในรายชื่อดาวน์โหลดสูงสุดของ Google Play และ Apple App Store ใน 8 ประเทศในปี 2020 และก็ได้ IPO ไปเมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2021 โดยระดมทุนไปได้ 41.28 billion HK dollars ($5.32 billion)จนถึง มิถุนายน 2022 Kuaishou Technology ก็มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market cap) อยู่ที่ 45,040 ล้าน USD
- Kuaishou ก่อตั้งในเดือน มีนาคม ปี 2011 ร่วมก่อตั้งโดย นาย Cheng Yixiao (程一笑) และ นาย Su Hua (宿华)
- ช่วงแรกของ Kuaishou ไม่ได้มีหน้าตาเป็น short-video platform อย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนะคะ
- ชื่อเดิมของ Kuaishou เรียกว่า "GIF Kuaishou" เป็นแอพพลิเคชั่นเครื่องมือ (Tool工具) สำหรับสร้างและแบ่งปันภาพ GIF (Graphic Interchange Forma) แต่ตุลาคม 2013 บริษัทก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงขึ้นมาจนกลายมาเป็น Short-video platform ที่ให้users อัพโหลดวิดีโอหรือคลิปสั้นๆ แชร์สู่สังคมออนไลน์ ถือว่าเป็น pioneer ในอุตสาหกรรมวิดีโอสั้นในจีน มาก่อน Douyin (Tiktok) เลยก็ว่าได้
- สิ่งที่น่าสนใจมากๆคือ Kuaishou ใช้ Gini-Coefficient ในการควบคุมระบบนิเวศน์ในสังคมออนไลน์ของ Kuaishou เพื่อหลีกเลี่ยงช่องว่างที่มากเกินไประหว่างContent creator คนรวยกับคนจน
- รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 43
Monday Apr 25, 2022
EP42: Xiaomi: An Internet or Hardware Company?
Monday Apr 25, 2022
Monday Apr 25, 2022
EP42 China Internet Landscape and Digital Giants Part 37
- บริษัท Xiaomi ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2010 ที่กรุงปักกิ่ง โดยนาย Lei Jun (雷军 Léi Jūn) ในขณะที่เขามีอายุ 40 ปี พร้อมกับผู้ร่วมก่อตั้งอีก 6 รายที่มาด้วยประสบการณ์และคุณวุฒิ
- ก่อน Lei Jun ก่อตั้ง Xiaomi นั้น ในปี 1992 Lei Jun ร่วมงานกับ Kingsoft ในฐานะวิศวกรบริษัท เมื่ออายุ 22 ปี และก้าวกระโดดมาเป็น CEO ของบริษัทในปี 1998 ด้วยวัยเพียง 28 ปี เท่านั้น
- วันที่ 6 เมษายน 2010 กลุ่มผู้ก่อตั้งได้เริ่มสร้างตำนานการผลิตโทรศัพท์ในประวัติศาสตร์จีน พวกเขาซึ่งกำลังทาน 小米粥 โจ๊กข้าวฟ่าง ด้วยกันที่ตึกหยินกู่ จงกวนชุน และประวัติศาสตร์ก็บันทึงเรื่องราวการก่อตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการและก็นำชื่อ Xiaomi มาตั้งเป็นชื่อบริษัทอีกด้วย
- Xiaomi แปลตรงตัวก็คือ Millet ข้าวฟ่าง แต่เหนือกว่านั้นคือ Lei Jun ต้องการเชื่อมโยงกับหลักการของศาสนาพุทธที่ว่า "ข้าวเมล็ดเดียวยิ่งใหญ่เท่าภูเขา" สื่อว่า Xiaomi ต้องการทำงานจากสิ่งเล็กน้อย แทนที่จะเริ่มต้นด้วยการดิ้นรนเพื่อความสมบูรณ์แบบ
- ชื่อ MI ยังบ่งบอกถึงความตั้งใจในการเป็นบริษัท internet เพราะ "mi" (米) เป็นตัวย่อสำหรับ Mobile Internet และ Mission Impossible ซึ่งหมายถึงอุปสรรคที่พบในการเริ่มต้นบริษัท
- บริการด้านอินเตอร์เน็ตเป็นภาคส่วนที่Xiaomi ให้ความสนใจ และยังย้ำว่า Xiaomi เป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีสมาร์ทโฟนและฮาร์ดแวร์อัจฉริยะเชื่อมต่อกันด้วยแพลตฟอร์ม IoT เป็นแกนหลัก หลายคนอาจจะแย้งว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจาก smartphone และ gadgets จะเป็นบริษัท internet ได้อย่างไร แต่Xiaomiก็โต้กลับว่าอัตรากำไรขั้นต้น (GP) สำหรับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่นๆ ในปี 2019 อยู่ที่ 7.2% และ 11.2% ตามลำดับเท่านั้น ในขณะเดียวกัน บริการอินเทอร์เน็ตมีอัตรากำไร 64.7%
- รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 42
Thursday Feb 17, 2022
EP41: First Era of Bilibili
Thursday Feb 17, 2022
Thursday Feb 17, 2022
EP41 China Internet Landscape and Digital Giants Part 36
· แพลตฟอร์ม Bilibili นี้ก่อตั้งโดยนาย Xu Yi( 徐逸 Xú Yì สู อี้) ผู้เป็นแฟนการ์ตูนแอนิเมชันตัวยงโดยเฉพาะ Hatsune Miku ฮัตสึเนะ มิกุ (การ์ตูนนักร้องหญิงในโปรแกรมสังเคราะห์เสียงร้องเพลงชื่อดังใน Vocaloid 2)
· ในสมัยนั้นมี platform วิดีโอที่เป็น bullet comment ที่รายแรกของจีนที่เป็นแหล่งรวมของการ์ตูนแอนิเมชั่นต่างๆ ชื่อว่า Acfun (ที่เป็นชื่อย่อของ Anime, Comics and Fun) 爱稀饭网Ài xīfàn wǎng หรือสมาชิกจะเรียกกันว่า A 站 ( A Site หรือ สถานที A) ที่ก่อตั้งมาในปี 2006 แต่ด้วยความที่ AcFun มีปัญหาทางเทคนิค เซอร์เวอร์ล่มอยู่บ่อยครั้ง นาย Xu Yi ซึ่งเป็น user ตัวยงอยู่แล้ว ก็รู้สึกหงุดหงิดใจมากเลยตัดสินใจสร้างแพลตฟอร์มวิดีโอ bullet comment ที่ดีกว่า A-Site ด้วยตัวเองเสียเลย โดยตั้งชื่อว่า mikufans ในวันที่ 26 มิถุนายน 2009 ในขณะที่นาย Xu มีเพียงอายุแค่ 20 ปีเท่านั้น!
· แพลตฟอร์มก็พัฒนาและวิวัฒนาการเรื่อยมา จนกันยายน 2011 นาย Xu Yi ก็สร้าง Startup ใช้ชื่อว่า Hangzhou Huandian Technology 杭州幻电科技有限公司 ขึ้นเพื่อบริหารธุรกิจแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ที่มีฟีเจอร์เป็น bullet comment อันเป็นเอกลักษณ์นี้อย่างจริงจัง
· รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ ใน EP 41
Wednesday Jan 12, 2022
EP40: History of Youku & Tudou
Wednesday Jan 12, 2022
Wednesday Jan 12, 2022
EP40 China Internet Landscape and Digital Giants Part 35
• 12 มีนาคม 2012 เป็นเวลาที่สำคัญสำหรับวงการแพลตฟอร์มวิดีโอ เมื่ออดีตคู่ปรับ Youku และ Tudou ได้บรรลุข้อตกลงในการควบรวมกิจการ โดยมีชื่อนิติบุคคลใหม่นี้มีชื่อว่า Youku Tudou Inc. และการควบรวมนี้ก็ได้สร้างเว็บไซต์แพลตฟอร์มวิดีโอที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนเลยในยุคนั้นไปโดยปริยาย
• เมื่อสองกลายเป็นหนึ่ง ในปี 2014 YouKu Tudou มี Active users มากกว่า 500 ล้านบัญชี และมีการรับชมในแต่ละวันมากกว่า 800 ล้าน views
• ไตรมาสที่3 ปี 2014 Youku Tudou เป็นเจ้าตลาด ครอง Market Share ไปได้ถึง 22.82% แซง iQiyi ที่ครองอันดับสองคือ 19.07% และ Sohu TV 11.87% Tencent TV 10.67%
• อันดับหนึ่งกับอันดับสองสูสีกันอย่างมาก ดังนั้นการครองตลาดของ Youku Tudou ในจีนเริ่มที่จะสั่นคลอนโดยการท้าทายจาก iQiyi ของ Baidu โดยเห็นชัดมากยิ่งขึ้นปีต่อมา
• พฤษภาคม 2014 อาลีบาบาและกองทุน Yunfeng (云峰) เข้าซื้อหุ้นสามัญคลาส A (Class A ordinary shares) ของ Youku Tudou จำนวน 721 ล้านหุ้นเป็นมูลค่า 1,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน Youku Tudou โดยอาลีบาบาถือหุ้น 16.5% (ลงไปประมาณ 1,100 ล้าน USD)และกองทุนหยุนเฟิงถือหุ้น 2% (ลงไป 132 ล้าน USD) รวมทั้งสิ้น 18.5%
• 6 พฤศจิกายน 2015 อาลีบาบากรุ๊ปได้เข้าซื้อกิจการ Youku Tudou Group ทั้งหมด และกลายมาเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือของอาลีบาบาในที่สุด
• ในท้ายที่สุดอุตสาหกรรม online video media and entertainment จีนในยุคนี้ก็เห็นความชัดเจนมากขึ้นว่าถูกขับเคลื่อนจากสามค่ายยักษ์ใหญ่อย่างTencent, Alibaba, Baidu นั่นเอง
• รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 40